วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

บทลงโทษของผู้ก่อกบฏ (ผู้ละเมิด)


ดูเหมือนคนที่สังคมจับตามองมากอีกคนหนึ่งก็คงจะเป็น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ว่าจะพูดอะไรออกมาบ้างหลังจากที่มีคำถามพุ่งตรงไปหาแล้วถามตรงแบบดปิดหน้าชกจาก เสธ.หนั่น ที่ถามว่าใครคือผู้สั่งการให้ทำการปฏิวัติ



ฝ่ายคณะรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ขณะอ่านแถลงการณ์คณะปฏิรูปฯ

นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กล่าวชี้แจงต่อคณะทูตานุทูตจำนวน 43 ประเทศ ที่หอประชุมกิตติขจร ถึงการประกาศยึดอำนาจจากรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า การประกาศยึดอำนาจเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการปกครองประเทศ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และได้รับความร่วมมือจากประชาชน และสังคมเป็นอย่างดี โดยคาดว่าจากนี้ไปอีก 2 สัปดาห์จะสามารถจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ และสรรหานายกรัฐมนตรีขึ้นมารักษาการแทน และจัดตั้งสภานิติบัญญัติ เพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
............................................







บทลงโทษของผู้ก่อกบฏ (ผู้ละเมิด)



﴿حد أهل البغي
] ไทยThai – تايلاندي [

มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์


แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ
ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์


2010 - 1431



﴿حد أهل البغي
« باللغة التايلاندية »



الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري




ترجمة: يوسف أبو بكر
مراجعة: فيصل عبدالهادي
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي


2010 - 1431

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ


บทลงโทษของผู้ก่อกบฏ (ผู้ละเมิด)

ผู้ก่อกบฏ คือ กลุ่มบุคคลที่เป็นภัยอันตรายและไม่ปฏิบัติตาม ซึ่งพวกเขาต่อต้านผู้นำโดยการตีความที่ชอบด้วยกฎหมาย พวกเขาต้องการที่จะถอดถอน ขัดแย้ง ทำลายการเชื่อฟังปฏิบัติตามผู้นำ

 
ลักษณะของผู้ก่อกบฏ

 
บุคคลทุกกลุ่มที่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่หรือได้แยกตัวออกจากผู้นำของมวลมุสลิมหรือได้ถอนตัวออกจากการปฏิบัติตามผู้นำ ดังนั้นพวกเขาถือว่าเป็นกลุ่มกบฏผู้อธรรมและบรรดากบฏก็ยังเป็นมุสลิมไม่ได้เป็นผู้ปฏิเสธแต่อย่างใด

 

 
วิธีการปฏิบัติต่อผู้ที่เป็นกบฏ


 
1. เมื่อผู้เป็นกบฏได้ออกมาต่อต้านผู้นำจำเป็นที่ผู้นำจะต้องส่งคนไปเจรจาแล้วถามพวกเขาในสิ่งที่ต้องการ หากพวกเขาได้บอกถึงสิ่งที่พวกเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมก็ให้ผู้นำปรับปรุงแก้ไข และหากพวกเขาได้กล่าวอ้างถึงสิ่งที่คลุมเครือก็ให้นำมาแสดงเปิดเผย ดังนั้นหากพวกเขายอมกลับมาเชื่อฟังปฏิบัติตามและหากพวกเขาไม่ยอมกลับให้กล่าวตักเตือนและขู่ให้พวกเขาหวาดกลัวถึงการปราบปราม หากพวกเขายังยืนกรานให้ลงมือปราบปรามและประชาชนผู้อยู่ภายใต้การปกครองต้องให้การช่วยเหลือผู้นำจนกระทั่งสามารถกำจัดความชั่วร้ายและสกัดความโกลาหลวุ่นวายให้หมดไปได้
2. เมื่อผู้นำต้องการจะปราบปรามกลุ่มกบฏให้ละเว้นการใช้อาวุธที่ร้ายแรง เช่น ลูกกระสุนที่มีประสิทธิภาพทำลายล้าง และไม่เป็นที่อนุญาตให้ฆ่าลูกหลานของพวกเขา หรือผู้ที่ยอมหันกลับมาปฏิบัติตาม หรือผู้ที่บาดเจ็บ และผู้ที่ไม่ได้ลุกขึ้นมาต่อสู้ สำหรับผู้ถูกจับเป็นเชลยให้กักขังไว้จนกระทั่งเหตุการณ์สงบ ส่วนทรัพย์สินของพวกเขาก็ไม่นับว่าเป็นทรัพย์เชลยและลูกหลานของพวกเขาไม่ถือว่าเป็นเชลยศึกแต่อย่างใด
3. หลังจากการปราบปรามและความวุ่นวายได้ยุติลง สิ่งที่เสียหายจากทรัพย์สินของพวกเขาขณะที่ปราบปรามก็ถือว่าสูญเปล่า ผู้ที่ถูกฆ่าก็ไม่ได้รับการชดใช้แต่อย่างใด และพวกเขาก็ไม่ต้องรับผิดชอบในทรัพย์สินและชีวิตที่เสียหายขณะที่ทำการปราบปราม

 

 
สิ่งที่จำเป็นต้องปฏิบัติขณะที่มีการเผชิญหน้ากันสองฝ่าย


 
เมื่อสองกลุ่มได้เผชิญหน้าต่อสู้กันเนื่องจากการเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือช่วงชิงการเป็นผู้นำทั้งสองกลุ่มต่างก็เป็นผู้อธรรม ทั้งสองฝ่ายจะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำให้อีกฝ่ายเสียหาย และจับเป็นที่จะต้องทำให้เกิดการปรองดองกันระหว่างทั้งสองฝ่าย

1. อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า


(ﮙﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ) (الحجرات : 9)
ความหมาย “และหากมีสองฝ่ายจากบรรดาผู้ศรัทธาทะเลาะวิวาทกัน ดังนั้นพวกเจ้าก็จงประนีประนอมระหว่างทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายหนึ่งในสองฝ่ายนั้นละเมิดอีกฝ่ายหนึ่งพวกเจ้าก็จงปรามฝ่ายที่ละเมิดจนกว่าฝ่ายนั้นจะกลับไปสู่บัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้นหากฝ่ายนั้น (ฝ่ายกลับสู่บัญชาของอัลลอฮฺ) พวกเจ้าก็จงประนีประนอมระหว่างทั้งสองฝ่ายด้วยความยุติธรรมและพวกเจ้าจงให้ความเที่ยงธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายเถิด แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักใคร่แก่บรรดาผู้ให้ความเที่ยงธรรม” (อัลหุญุรอต / 9)

 

 
عن عرفجة رضي الله عنه قال: سمعت رسول الله ﷺ يقول: «مَنْ أَتَاكُمْ وَأَمْرُكُمْ جَـمِيْـعٌ، عَلَى رَجُلٍ وَاحِدٍ، يُرِيدُ أَنْ
يَشُقَّ عَصَاكُمْ، أَوْ يُفَرِّقَ جَـمَاعَتَـكُمْ فَاقْتُلُوْهُ». أخرجه مسلم

2. ความหมาย จากอิรฟะญะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า

ฉันได้ยินท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดมาหาพวกท่านในขณะที่กิจการงานพวกท่านเป็นหนึ่งเดียว อยู่ที่บุคคลเพียงคนเดียว ผู้นั้นต้องการทำลายการเชื่อฟังปฏิบัติตามหรือทำให้พวกท่านเกิดความแตกแยก ดังนั้นจงฆ่าเขาเสีย” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1852)

 
บทบัญญัติว่าด้วยการเป็นกบฏต่อผู้นำของมวลมุสลิม

 
1. การแต่งตั้งผู้นำนับเป็นความจำเป็นที่สำคัญอย่างยิ่งของศาสนา

 ห้ามมิให้ฝ่าฝืนและตั้งตัวเป็นกบฏต่อผู้นำถึงแม้ว่าเขาจะเป็นผู้ที่อธรรมก็ตามตราบใดที่เขายังมิได้กระทำในสิ่งที่เป็นการปฏิเสธอย่างชัดเจนและก็ได้รับการชี้แจง ไม่ว่าการเป็นผู้นำของเขามาจากมติของมวลมุสลิม หรือจากการแต่งตั้งของผู้นำคนก่อน หรือโดยการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ หรือโดยการใช้กำลังให้ผู้คนยอมจำนนต่อการเป็นผู้นำของเขาก็ตาม และผู้นำจะไม่ถูกถอดถอนเพราะการกระทำความผิดที่เป็นบาปใหญ่ตราบใดที่เขายังมิได้กระทำในสิ่งที่เป็นการปฏิเสธอย่างชัดเจน


2. ผู้ที่ตั้งตนออกจากการเชื่อฟังปฏิบัติตามผู้นำไม่ว่าจะโดยการปล้นชิงทรัพย์

หรือตั้งตนเป็นกบฏ หรือเป็นพวกนอกรีต (เคาะวาริจญฺ) โดยที่พวกเขาปฏิบัติตนที่เป็นบาปใหญ่ถึงขั้นปฏิเสธ และสำหรับพวกเขาแล้วชีวิตและทรัพย์สินเป็นสิ่งที่อนุมัติ พวกเขาเป็นผู้ที่ฝ่าฝืนอนุญาตให้ต่อสู้เป็นการปราบปรามได้

พวกเขาทั้งสามกลุ่มนั้นคือ กบฏที่ออกจากการเชื่อฟังปฏิบัติตามผู้นำ ผู้ใดที่ตายจากพวกเขาดังนั้นข้อบัญญัติก็คือข้อบัญญัติเดียวกับบรรดามุสลิมที่ฝ่าฝืน (อุศอตุลมุวะฮิดีน)

 
สิ่งที่จำเป็นเหนือผู้นำมวลมุสลิม

 
1. ผู้นำของมวลมุสลิมจำเป็นต้องเป็นผู้ชายไม่ใช่ผู้หญิง เพราะกลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใดจะไม่ได้รับความสำเร็จหากพวกเขามอบกิจการงานให้กับผู้หญิงเป็นผู้นำ
และภารกิจที่จำเป็นของผู้นำคือ ปกปักษ์ประเทศอิสลาม รักษาศาสนา ดำเนินตามบทบัญญัติของอัลลอฮฺ ดำรงไว้ซึ่งบทลงโทษ รักษาดินแดน จัดเก็บซะกาต ตัดสินปัญหาด้วยความยุติธรรม ต่อสู้กับเหล่าศัตรู เชิญชวนผู้คนสู่อัลลอฮฺ และเผยแผ่อิสลาม

2. จำเป็นต่อผู้นำจะต้องให้คำตักเตือนชี้แจงต่อผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองและไม่ทำให้พวกเขาพบกับความทุกข์ยาก และอยู่ร่วมกับพวกเขาด้วยกับความอ่อนโยนนุ่มนวลในทุกสภาวการณ์ แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

 
«مَا مِنْ عَبْدٍ يَسْتَرْعِيهِ الله رَعِيَّةً، يَـمُوتُ يَومَ يَـمُوتُ وَهُوَ غَاشٌّ لِرَعِيَّتِـهِ إلَّا حَرَّمَ الله عَلَيْـهِ الجَنَّةَ». متفق عليه

ความหมาย “ไม่มีบ่าวคนใดที่อัลลอฮฺได้ให้เขาทำหน้าที่ปกครอง เขาได้เสียชีวิตในสภาพที่เป็นผู้คดโกงต่อหน้าที่ที่รับผิดชอบนอกจากอัลลอฮฺจะห้ามเขาไม่ให้เข้าสวนสวรรค์” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7151 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 142 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน)

 

 
จำเป็นต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามผู้นำในสิ่งที่ไม่ฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ

 
1. อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

 
(ﯵﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ ﰊ ﰋ ﰌ ﰍ ﰎ ﰏ ﰐ ﰑ ﰒﯗ) [النساء/59].
ความหมาย “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงเชื่อฟังอัลลอฮฺและเชื่อฟังรอสูลของพระองค์และผู้ปกครองในกลุ่มของพวกเจ้า แต่ถ้าหากพวกเจ้าขัดแย้งกันในเรื่องใดก็จงนำเรื่องนั้นกลับไปหาอัลลอฮฺและรอสูล หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไปที่สวยงามยิ่ง” (อัลนิสาอ์ : 59)

 
2. ความหมาย จากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

 
«عَلَى المَرْءِ المُسْلِـمِ السَّمْعُ وَالطَّاعَةُ فِيْـمَا أَحَبَّ وَكَرِهَ إلَّا أَنْ يُؤْمَـرَ بِمَعْصِيَةٍ، فَإنْ أُمِرَ بِمَعْصِيَةٍ، فَلا سَمْعَ وَلا طَاعَةَ»
ความว่า “จำเป็นต่อมุสลิมต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม (ผู้นำ) ในสิ่งที่เขารักและรังเกียจ นอกจากเขาถูกสั่งใช้ในสิ่งที่ฝ่าฝืน (อัลลออฮฺ) ดังนั้นหากเขาได้รับคำสั่งใช้ในสิ่งที่ฝ่าฝืนก็ไม่มีการเชื่อฟังและปฏิบัติตาม” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 2955 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1839 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน)

 
การกลับตัว (เตาบะฮฺ) ของผู้กระทำความผิดที่มีบทลงโทษ

 
หากการสารภาพผิดของเขาหลังจากถูกจับดำเนินคดี การสารภาพผิดนั้นจะไม่ทำให้บทลงโทษเป็นโมฆะไป และหากการสารภาพผิดก่อนที่ถูกจับดำเนินคดี การสารภาพผิดนั้นจะถูกตอบรับและเขาจะไม่ถูกลงโทษ ทั้งนี้เป็นเพราะความเมตตาจากอัลลอฮฺโดยการยกโทษให้ผู้ที่กระทำความผิดที่กลับตัวกลับตัว

1. อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

 
(ﭻﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ) [المائدة/33-34].

 
ความหมาย “แท้จริงการตอบแทนแก่บรรดาผู้ที่ทำสงครามต่ออัลลอฮฺและรอสูลของพระองค์และพยายามสร้างความเสื่อมเสียบนผืนแผ่นดิน นั้นคือการที่พวกเขาจะถูกฆ่า ถูกตรึงบนไม้กางเขน หรือมือและเท้าของพวกเขาจะถูกตัดสลับข้าง หรือถูกเนรเทศออกไปจากแผ่นดิน ดังกล่าวนี้พวกเขาจะได้รับความอัปยศในโลกดุนยานี้และจะได้รับการลงโทษอย่างใหญ่หลวงในโลกอาคิเราะฮฺ นอกจากบรรดาผู้ที่สารภาพผิดก่อนที่พวกเจ้าจะสามารถลงโทษพวกเขา พึงรู้เถิดว่าแท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเอ็นดูเมตตา” (อัลมาอิดะฮฺ : 33-34)

 
  1. อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า
(ﮚﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ) [الأعراف/153].

 
ความหมาย “และบรรดาผู้ที่ประกอบความชั่วแล้วหลังจากนั้นสารภาพผิด และศรัทธาแล้วไซร้ แท้จริงพระผู้อภิบาลของเจ้านั้นหลังจากนั้นแล้วแน่นอนย่อมเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ทรงเอ็นดูเมตตา”(อัลอะอฺรอฟ : 153)


""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ไม่มีความคิดเห็น: