วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

โทษของการเป็นคนลวงโลก


๑)    ทุกข์ทางใจจิตที่เป็น ปกติสุขไม่อาจคิดพูดโกหกมดเท็จ การจะโกหกมดเท็จได้ต้องใช้จิตที่เป็นทุกข์เท่านั้น เพราะไหนจะต้องพยายามแต่งเรื่องขึ้นใหม่ ไหนจะต้องออกแรงบิดความจริงอันเป็นสิ่งยิ่งใหญ่ด้วยปากอันเล็กกระจ้อยร่อย แม้แต่การกลับซ้ายให้กลายเป็นขวาเพียงนิดเดียว ก็อาจพาคนหลงตามคำหลอกของเราไปลงเหวได้แล้ว ทุกคำมุสาที่นึกว่าเล็กน้อย จึงอาจก่อมหันตภัยใหญ่หลวงเกินกว่าจะคาดเดาได้

การรู้ตัวว่าโดนหลอก เป็นความทุกข์ของผู้ถูกหลอก ถ้าเราเป็นคนหลอกเขา ใจเราจะเป็นสุขไปได้อย่างไร การสังเกตเข้ามาในตนเองจะทำให้เห็นทุกข์เป็นขณะ ๆ อย่างชัดเจน

ทุกข์ เริ่มต้นตั้งแต่เมื่ออยากหลอกลวงให้คนอื่นหลงเชื่อ สังเกตเข้ามาในตนเอง จะรู้สึกถึงความฝืดฝืน นั่นเพราะธรรมชาติของความจริงมีเหตุมีผล การอยากโกหกก็คือการอยากทำลายเหตุผล ซึ่งค้านกันกับสำนึกแบบมนุษย์ที่ต้องการเหตุผลตามจริง

ทุกข์จะทวีตัว ขึ้นเมื่อตัดสินใจหลอกลวงให้คนอื่นหลงเชื่อ สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นเหมือนใจถูกคลุมไว้ด้วยฝ้าหมอกมายา นั่นเพราะการตั้งใจแต่งเรื่องหลอกคนอื่น ก็คือการพลิกเอาตัวเองออกจากความจริงอันสว่างไปสู่ความเท็จอันมืด จึงไม่มีทางที่ใจจะสดใสโปร่งโล่งไปได้

 ทุกข์จะทวีตัวขึ้นอีกเมื่อ พยายามคิดคำลวงให้คนอื่นหลงเชื่อ สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นคล้ายมีตัวเราที่รูปร่างหน้าตาแตกต่างไปจากเดิมกำลังดิ้นพล่าน พยายามจินตนาการจับต้นชนปลายความจริงกับความเท็จให้ต่อกันติด ที่มโนภาพของตัวเราแตกต่างจากเดิม ราวกับแปลกไปไม่ใช่ตัวเรา ก็เพราะขณะจิตนั้นเราไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่ตัวจริงตามที่กำลังเป็น

ทุกข์ จะทวีตัวขึ้นถึงขีดสุดเมื่อต้องฝืนขยับปากหลอกลวงคนอื่นให้หลงเชื่อ สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นการออกแรงเค้นคำ แตกต่างจากเมื่อพูดความจริงอย่างสบายอารมณ์ นั่นเพราะเรารู้ว่าความจริงเป็นเส้นตรง แต่จะอาศัยปากของเราเข้าไปดัดเส้นตรงนั้นให้เบี้ยวบิดผิดรูป แน่นอนว่าจิตใจและปากคอของเราย่อมเบี้ยวบิดผิดตามไปด้วย ไม่อาจตรงอยู่ได้

ทุกข์ จะไม่จบโดยง่ายแม้เมื่อหลอกลวงให้คนอื่นหลงเชื่อได้สำเร็จ สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นเป็นความรู้สึกเหมือนมีสองภาค ภาคหนึ่งรู้ความจริง อีกภาคหนึ่งรู้ว่ามีความลวงซ้อนความจริงขึ้นมา อีกทั้งต้องคอยปกปิดให้ดี ยิ่งภาคแห่งความลวงหนาขึ้นกลบภาคแห่งความจริงมากขึ้นเท่าใด เราจะยิ่งรู้สึกคล้ายเกิดหน้ากากปิดบังหน้าตาของตนมากขึ้นเท่านั้น จนวันหนึ่งส่องกระจกเงาแล้วอาจรู้สึกครึ่งจริงครึ่งฝัน ถามตัวเองว่านี่ใบหน้าของเราแน่หรือ?

ในทางปฏิบัติแล้ว การหลอกคนได้มักทำให้ภูมิใจ เพราะหลงนึกว่าตัวเองฉลาด และเห็นว่าคนอื่นโง่ ดังนั้น ทุกข์ที่เกิดจากการฝึกเป็นนักแต่งเรื่องจึงไม่ปรากฏชัดในช่วงต้นวัย ต่อเมื่อหลอกคนอื่นจนกระทั่งจิตทำงานเป็นอัตโนมัติ คล้ายหลอกได้แม้กระทั่งตัวเองให้เชื่ออะไรผิด ๆ หลงตัดสินใจโง่ ๆ และด้วยเหตุนี้เอง เราจึงตระหนักว่าที่สุดของการเป็นคนลวงโลก ก็คือการพาตัวเองไปอยู่ในอีกโลกหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยความทุกข์ร้อนจากการไม่รู้จักตนเองเสียแล้ว




 

๒) การสั่งสมบาป


เมื่อ ทราบแล้วว่าความมืดเป็นเครื่องหมายของบาป เราก็สามารถสำรวจใจตนเองแล้วทราบได้ว่าการโกหกเป็นบาป เพราะไม่มีการโกหกครั้งใดที่ทำให้จิตของเราสว่างขึ้น มีแต่จะหม่นหมองลง กับทั้งไม่มีแก่ใจคิดอะไรในทางดี ในทางที่เจริญเอาเลย

แรงผลักดันให้ โกหกได้เต็มปากเต็มคำคือโลภะ โลภะต้องชนะความอยากสบายใจ จึงขับให้เราก่อบาปด้วยการหลอกลวง แท้จริงมนุษย์เราต้องการความสบายใจเหนือสิ่งอื่นใด แต่เพราะอยากได้สิ่งที่ต้องการมากเกินไป หรือจำต้องเห็นแก่สิ่งอื่นยิ่งไปกว่าใจตน จึงยอมทำลายความสบายใจด้วยการพูดคำเท็จ

ที่น่ากลัวก็คือบาปสามารถ สั่งสมตัวได้ นั่นหมายความว่ายิ่งโกหกมากขึ้นเท่าไร ใจก็ยิ่งอึดอัดทรมานมากขึ้นเท่านั้น มองไปทางไหนความจริงทั้งหลายดูน่าบิดเบือนให้ผิดจากเดิมไปหมด

แม้ ขยับปากเอาตัวรอดหรือสร้างภาพให้ดูดี เช่น คนที่บ้านถามว่าไปไหนมา ความจริงเราไปสังสรรค์เฮฮากับเพื่อนฝูง แต่เราไพล่พูดโกหกว่าไปช่วยงานสำคัญที่นั่นที่นี่ ปากของเราก็ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องดัดจิตให้เบี้ยวบิดผิดรูปแล้ว เพียงคำลวงเล็ก ๆ ก็จุดชนวนความคิดไม่ตรงไปตรงมาได้ ต่อไปเมื่อต้องตอบแบบเสียภาพลักษณ์นิดเดียว ระบบความคิดของเราจะพยายามสร้างคำพูดไปในทางรักษาภาพทันที โดยไม่คำนึงว่าภาพดี ๆ จะมีความจริงปนอยู่ด้วยมากน้อยเพียงใด

ความ คิดในทางปั้นน้ำเป็นตัวจะลดความฉลาดในการอธิบายให้คนเข้าใจความจริง ทั้งที่พูดความจริงโดยไม่ต้องให้คนฟังเสียความรู้สึกก็ได้ แต่เพราะมัวไปเชื่ออยู่ว่าขืนพูดความจริงก็พังเท่านั้น เลยเท่ากับปิดโอกาสฝึกใจให้ซื่อ ฝึกคิดให้ฉลาด น้อยคนจึงสามารถพูดแบบให้เกิดเรื่องดี ๆ โดยไม่ต้องแต่งเรื่องหลอก ๆ ขึ้นมา

ฉะนั้น เพียงไม่ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะเว้นขาดจากการโกหก ก็นับว่ามีโทษแล้ว เพราะเมื่อถูกตั้งเงื่อนไขให้เกิดโลภะอย่างแรงกล้า ความอยากสบายใจก็ลดระดับแทบไม่เหลือ ยังผลให้สติพร่าเลือนลง เปิดช่องให้โลภะเข้าครอบงำจนโง่เขลา หลงนึกว่าบาปแห่งการโกหกเป็นสิ่งสมควรทำยิ่งกว่าบุญแห่งการพูดความจริงให้ เกิดประโยชน์






 

                                                     ผังล้มเจ้าฉบับจัดทำโดย ศอฉ.



๓) ความเป็นอยู่ที่เลวร้าย
ไม่มีความ รู้สึกอึดอัดอันใดย่ำแย่ไปกว่าความรู้สึกอึดอัดอันเกิดจากการโกหก เพราะบาปข้ออื่นยังทำลงไปแบบมีเหตุผลให้โล่งใจกันได้ เช่น เราอาจฆ่าโจรโฉดตามหน้าที่ของตำรวจ เราอาจโกงใครเพราะเขาโกงก่อน เราอาจกินเหล้าเพื่อไม่ให้คนรินเสียใจ แต่ถ้าต้องฝืนใจโกหกครั้งหนึ่ง เราก็ต้องฝืนทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับความจริงอันเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่หนึ่งครั้ง เมื่อสั่งสมมากแล้ว ในที่สุดทั้งอกทั้งใจก็เต็มแน่นไปด้วยความอึดอัดครัดเครียด และสับสนอยู่กับตนเองว่าอันไหนจริงอันไหนเท็จ อันไหนตื่นอันไหนฝัน เห็นความจริงเป็นสิ่งไม่น่าเชื่อ กับทั้งมีนิสัยดื้อด้าน ไม่ยอมรับความจริงอย่างน่าสลดสังเวชได้

เมื่อบาปจากการการโกหกถูก สั่งสมมากแล้ว คนโกหกย่อมเลื่อนฐานะเป็นคนลวงโลก ดูเผิน ๆ เหมือนโกหกได้หน้าตาย คิดแต่งเรื่องได้เป็นตุเป็นตะในเวลาอันรวดเร็ว หลอกได้แม้กระทั่งเครื่องจับเท็จ ซึ่งสะท้อนว่าสามารถสะกดจิตตัวเองให้สำคัญไปว่ากำลังพูดเรื่องจริงอย่างเป็น ธรรมชาติ แต่นั่นแหละคือความผิดธรรมชาติอย่างใหญ่หลวง จนก่อให้เกิดกระแสในตัวที่น่าระแวง ไม่ชวนให้อยากคบ อยู่ใกล้แล้วอึดอัด เหมือนอีกาที่ซื่อกับใครไม่เป็น หรือเหมือนลิงที่พร้อมจะล้อเลียนเราทั้งต่อหน้าและลับหลัง

การโกหก หลอกลวงแต่ละครั้งคือการบิดเบือนความจริง ซึ่งก็มีผลสะท้อนให้ความจริงของเราบิดเบี้ยวไปด้วย อาจจะในรูปของการโดนใส่ไคล้ หรืออาจจะในรูปของการถูกเข้าใจผิด คิดให้ดีก็สมกันแล้ว ไม่มีทางที่เราจะบังคับใครต่อใครให้พูดถึงเราตรงตามความจริงไปทั้งหมด เท่า ๆ กับที่เราเองก็ไม่ได้พูดถึงตัวเองตรงตามจริงทุกครั้ง เช่นที่เป็นกันมากคือโกหกเพื่อรักษาหน้า ไม่ยอมรับผิด เป็นต้น

จิต ของคนลวงโลกย่อมมีความบิดเบี้ยว กลับกลอกไปมา แม้แต่เจ้าตัวเองก็ควบคุมไม่ได้ว่าจะให้ชอบอะไรหรือรักใคร คล้ายตกอยู่ในห้วงฝันหลอนที่โยกเยกไหวเอนอยู่เกือบตลอดเวลา

จิตที่ บิดเบี้ยวย่อมเหมาะกับภพใหม่ที่เบี้ยวบิด เต็มไปด้วยความหลอกหลอนให้ผิดหวัง วันนี้นึกว่าดี พรุ่งนี้กลายเป็นร้ายให้ช้ำใจ น่าอึดอัดระอา ถ้ายังมีวาสนาพอจะเกิดใหม่ในโลกมนุษย์ ก็ย่อมตกอยู่ในภาวะผันผวนไม่แน่นอนอย่างรุนแรง

หากตายเยี่ยงคนลวงโลก ผู้ยังไม่อิ่มไม่พอกับการปั้นน้ำเป็นตัว แต่ยังพอมีบุญพยุงไม่ให้ร่วงหล่นถึงนรก ก็อาจไปเสวยภพของพวกหาสัจจะได้ยากในระดับเดรัจฉานภูมิ เช่น อีกา หรือลิงป่าบางจำพวก เป็นต้น

แต่หากตายเยี่ยงคนลวงโลกที่ดีแต่เยาะ หยัน เห็นคนอื่นโง่กว่าตนเสมอ ก็จัดว่ามีความเหมาะกับสภาพความเป็นอยู่ที่ถูกกดขี่อย่างน่าสะพรึงกลัว ดังเช่นนรกภูมิสถานเดียว!




นรกขุมที่ ๙
(โลกันตมหานรก)
บุคคลส่วนใหญ่รู้จักกันแค่อเวจีมหานรก หรือ นรกขุมที่ ๘ จึงมีคนสมัครใจลงนรกขุมนี้กันมาก เพราะไม่เชื่อว่ามีนรก ไม่เชื่อว่ามีสวรรค์ ไม่เชื่อว่ามีเทวดา มีนางฟ้า มีพรหม และมีพระวิสุทธิเทพหรือพระอรหันต์อยู่ที่พระนิพพาน คิดเอาด้วยปัญญาของตนว่าตายแล้วสูญ ตายแล้วไม่เกิด เท่ากับผลของกรรมไม่มี, กฎของกรรมไม่มี, ไม่เชื่อว่าทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว แม้แต่นักบวชที่บวชเข้ามาในพุทธศาสนาจำนวนมากก็เชื่อตามความคิดเหล่านี้ เมื่อตายไปจึงพากันไปอยู่นรกขุมนี้เป็นจำนวนมาก มากกว่าอาชีพใด ๆ ในโลกนี้ เพราะเป็นการปรามาสพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเท่ากับปรามาสพระพุทธเจ้าโดยตรง เพราะธรรมเหล่านี้พระองค์เป็นผู้ตรัสสอนไว้ทั้งสิ้น
          คำสั่งคือศีลหรือพระวินัยมีอยู่ ๒๒๗ ข้อ บางท่านยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่ามีอะไรบ้าง ประกอบกับไม่เชื่อว่ามีนรก จึงไม่ค่อยสนใจที่จะรักษาศีล ความเป็นพระจึงไม่เกิดกับจิตของผู้นั้น บวชนานเท่าใดก็ไม่เป็นพระ เป็นแค่นักบวช หรือสมมุติสงฆ์เท่านั้น ตายแล้วจึงลงนรกหมด
          ส่วนคำสอน นั้นมีมากถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ หรือ ๘๔,๐๐๐ อุบาย เพราะบุคคลมีจริตนิสัย และมีกรรมไม่เสมอกัน
          พระองค์ทรงตรัส เรื่องโทษของการปรามาสพระรัตนตรัย ไว้ มีความสำคัญย่อ ๆ ดังนี้
          ๑. สิ่งที่พระองค์ทรงตรัสไว้ กลับบอกว่าพระองค์มิได้ตรัส
          ๒. สิ่งที่พระองค์มิได้ตรัสไว้ กลับบอกว่าพระองค์ตรัส
          ๓. ตีความหมายผิด เข้าใจผิด
          ๔. พวกที่เขาไม่ศรัทธาในพระองค์ หรือพวกปทปรมะ หรือคนนอกศาสนา พวกนี้พระองค์ไม่สอนเขาอยู่แล้วเป็นธรรมดา โทษของการปรามาสพระรัตนตรัยมีสถานเดียว คือ ต้องลงนรกขุมที่ ๘
          ในพระไตรปิฎก มีบุคคลบางคนที่สงสัยเรื่องนรก-สวรรค์มีจริงหรือ ไปถามพระองค์ พระองค์ก็ทรงเมตตาแนะนำบุคคลเหล่านั้น มีใจความโดยย่อว่า...
          ก) ถ้าไม่มีนรก ไม่มีสวรรค์ หากตายไปก็เสมอตัว
          ข) ถ้าหากนรกมี สวรรค์มีจริง เมื่อตายไปก็พบกับความทุกข์หรือความสุขอย่างสุดประมาณ เพราะ...
          นรกขุมแรก (สัญชีพนรก) ๑ วันที่นั่นนานเท่ากับเวลาในโลกมนุษย์ถึง ๙ ล้านปี นรกขุมที่ ๒ เวลาก็นานขึ้นอีกเท่าตัว คือ ๑ วันที่นั่นนานเท่ากับเวลาในโลกมนุษย์ถึง ๑๘ ล้านปี ตามลำดับ จนถึงขุมที่ ๘ เธอควรจะยอมเสี่ยงดีหรือไม่ก็ตามใจเธอ พระองค์ไม่เคยบังคับใครให้เชื่อ เพราะศาสนาของพระองค์ ทุกคนต่างเข้ามาด้วยศรัทธาก่อนทั้งสิ้น (ศรัทธา คือ ความเชื่อโดยการยอมปฏิบัติตามคำสั่งคือศีลและคำสอนของพระองค์ด้วย) นอกจากนั้นยังเมตตาสอนวิธีหนีนรกแบบง่าย ๆ ให้กับบุคคลเหล่านั้น โดยเน้นเรื่องการรักษาศีลเป็นหลักสำคัญ (กรุณาอ่านเรื่อง ศีลและปัญญาเท่านั้นเป็นเลิศในโลกประกอบด้วย แล้วจะเข้าใจได้อย่างดี)
          บุคคลและนักบวชที่ไม่เชื่อว่า นรกมี สวรรค์มี จึงประมาท ไม่สนใจที่จะละกรรมชั่ว ไม่สนใจที่จะทำกรรมดี จิตใจเลยเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส โดยเฉพาะเรื่องการรักษาศีลหรือพระวินัยอย่างจริงจังในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ตายแล้วจึงพากันลงนรกมากมายสุดประมาณ ตามที่พระองค์ทรงตรัสไว้ มีความว่า " สัตว์โลกตายแล้วไปสู่สวรรค์ได้ มีปริมาณเพียงเท่าเขาโค แต่ไปสู่อบายภูมิ ๔ มีปริมาณเท่ากับขนโค "นี่คือคำนำเรื่องที่เกี่ยวกับนรกขุมที่ ๘ (อเวจีมหานรก)


........................................................................

ไม่มีความคิดเห็น: