วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ประมวลกฎหมายอาญา

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรด เกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมาย อาญาเสียใหม่เพราะตั้งแต่ได้ประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญาใน พุทธศักราช 2451 เป็นต้นมา พฤติการณ์ของบ้านเมืองได้ เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้
Topมาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499"
Topมาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
Topมาตรา 3 ประมวลกฎหมาย อาญาท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 เป็นต้นไป
Topมาตรา 4 เมื่อประมวลกฎหมาย อาญาได้ใช้บังคับแล้วให้ยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา
Topมาตรา 5 เมื่อประมวลกฎหมายอาญาได้ใช้บังคับแล้ว ในกรณีที่กฎหมายใดได้ กำหนดโทษโดยอ้างถึงโทษฐานลหุโทษในกฎหมายลักษณะอาญาไว้ ให้ถือว่ากฎหมายนั้นได้อ้างถึงโทษ ดังต่อไปนี้
ถ้าอ้างถึงโทษชั้น 1 หมายความว่า ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
ถ้าอ้างถึงโทษชั้น 2 หมายความว่า ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
ถ้าอ้างถึงโทษชั้น 3 หมายความว่า จำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าอ้างถึงโทษชั้น 4 หมายความว่า จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 6 เมื่อประมวลกฎหมายได้ใช้บังคับแล้ว ในการจำคุกแทนค่าปรับตามกฎหมายใด ไม่ว่ากฎหมายนั้นจะบัญญัติไว้ประการใด ให้นำประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับแต่สำหรับความผิด ที่ได้กระทำก่อนวันที่ประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับ มิให้กักขังเกินกว่าหนึ่งปี สำหรับโทษปรับกระทงเดียว และสองปีสำหรับโทษปรับหลายกระทง
Topมาตรา 7 ในกรณีวิธีการเพื่อความปลอดภัยตาม มาตรา 46 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ให้นำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับเสมือน เป็นความผิดอาญา แต่ห้ามมิให้คุมขังชั้นสอบสวนเกินกว่าสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่ เวลาที่ผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ถูกจับมาศาลรวมเข้า ในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย
Topมาตรา 8 เมื่อประมวลกฎหมาย อาญาได้ใช้บังคับแล้ว บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอ้างถึงกฎหมายลักษณะอาญา หรืออ้างถึงบทบัญญัติแห่ง กฎหมายลักษณะอาญา ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นอ้างถึงประมวลกฎหมายอาญา หรือบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายอาญาในบทมาตราที่มีนัยเช่นเดียวกัน แล้วแต่กรณี

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี


 
_________________________________________________________________________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ได้ประกาศใช้มานานแล้วและได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอยู่หลายแห่งกระจัดกระจายกันอยู่ จึงเป็นการสมควรที่จะได้ชำระสะสาง และนำเข้ารูปเป็นประมวลกฎหมายอาญาเสียในฉบับเดียวกันอนึ่ง ปรากฏว่าหลักการบางอย่างและวิธีการลงโทษบางอย่างควรจะได้ปรับปรุงให้สมกับกาล สมัยและแนวนิยมของนานาประเทศ ในสมัยปัจจุบันหลักเดิมบางประการจึงล้าสมัย สมควรจะได้ปรับปรุงเสียให้สอดคล้องกับ หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

Tap the news story นำเรื่องกฎหมายมาลงเป็นบางส่วนและได้นำเนื้อหาที่เกี่ยวกับ ม.112 ที่กำลังเป็นประเด็นถกเถียงคัดค้านในเรื่องการที่มีข่าวว่ามีทั้งกลุ่มคนที่สนับสนุนให้แก้ไข และกลุ่มคนที่คัดค้าน จนเป็นเรื่องบานปลายถึงขั้นมีคนบอกให้ทหารออกมาปฏิวัติยึดอำนาจ  ทั้งที่ยังไม่ได้ข้อสรุปอะไรเลยแต่มีคนทั้งสองกลุ่มที่เห็นต่างกันออกมาโต้ข่าวกันไปมา ทุกวันจนแผ่นแทบจะยุบตามจังหวะที่ลุกเต้นโต้ตอบกัน แต่ชาวบ้านอีกเป็นล้านๆยังงงอยู่เลยว่า ม.112 ที่เป็นข่าว ว่ามีคนสนับสนุนให้แก้และคัดค้านไม่ให้แก้  มีเหตุผลอย่างไรกันบ้าง ถ้าแก้แล้วผลดีคืออะไร ผลเสียคืออะไร  เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ทำไร่ทำนาทำสวน  ยังไม่เข้าใจหรอกว่า ผลของการแก้ไขไปแล้ว ชาวบ้าวจะได้รับผลกระอะไรบ้าง ราคาไข่ไก่จะขึ้นหรือลดลง ราคาข้าวจะได้ราคาตามที่รัฐบาลประกาศไว้หรือไม่ ราคายางจะเกิน กก.ละ 150 บาทไหม  ชาวไร่ จะขายพืชผลทางการเกษตรได้คุ้มเงินลงทุนที่กู้สหกรณ์มาหรือเปล่า และหากแก้ ม.112 แล้ว จะเกิดเหตุปลาบู่ยักษ์โผล่ขึ้นมาชนเขื่อนทางภาคเหนือจนเขื่อนแตกทำให้เกิดน้ำท่วมประเทศไทยตามคำทำนายหรือไม่ และคงมีอีกมากมายหลายคำถาม ที่ชาวบ้านอีกเป็นล้านอยากรู้คำตอบ...... เดี๋ยวดูตัวอย่างเนื้อหาในปัจจุบันแล้ว บางทีชาวบ้านอาจจะพอเข้าใจอะไรบ้าง
__________________________________________________________________________________
ภาค2 ความผิด
top
ลักษณะ1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร

หมวด1 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
หมวด 1 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
Topมาตรา 107 ผู้ใดปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษ ประหารชีวิต
ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์พระ มหากษัตริย์หรือรู้ว่ามีผู้จะปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ กระทำ การใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต
Topมาตรา 108 ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพ ของพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ถ้าการกระทำนั้นมีลักษณะอันน่าจะเป็นอันตรายแก่พระชนม์ ผู้ กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต
ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ หรือรู้ว่ามีผู้จะกระทำการประทุษร้าย ต่อพระองค์หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ กระทำการใดอันเป็น การช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบหกปีถึงยี่สิบปี
Topมาตรา 109 ผู้ใดปลงพระชนม์พระราชินีหรือรัชทายาท หรือฆ่า ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษประหารชีวิต
ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์ พระราชินีหรือรัชทายาท หรือเพื่อฆ่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือรู้ว่ามีผู้จะปลงพระชนม์พระราชินีหรือรัชทายาท หรือจะฆ่าผู้ สำเร็จราชการแทนพระองค์ กระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบสองปีถึงยี่สิบปี
Topมาตรา 110 ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพ ของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้ สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือ จำคุกตั้งแต่สิบหกปีถึงยี่สิบปี
ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ถ้าการกระทำนั้นมีลักษณะอันน่าจะเป็นอันตรายแก่พระชนม์หรือ ชีวิต ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือ เสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือรู้ว่ามีผู้จะประทุษร้าย ต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือ ประทุษร้ายต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สิบสองปีถึงยี่สิบปี
Topมาตรา 111 ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตาม มาตรา 107 ถึง มาตรา 110 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น
Topมาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
หมายเหตุ
มาตรา 12 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519

___________________________________________________________________________________
กลับไปที่หน้าสารบาญหมวด 2 ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรTopมาตรา 113 ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ
(2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญหรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ
(3) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
Topมาตรา 114 ผู้ใดสะสมกำลังพลหรืออาวุธ ตระเตรียมการอื่นใดหรือสมคบกัน เพื่อเป็นกบฏ หรือกระทำความผิดใด ๆ อันเป็นส่วนของ แผนการ เพื่อเป็นกบฏ หรือยุยงราษฎรให้เป็นกบฎหรือรู้ว่ามีผู้จะเป็น กบฎแล้วกระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
Topมาตรา 115 ผู้ใดยุยงทหารหรือตำรวจให้หนีราชการ ให้ละเลย ไม่กระทำการตามหน้าที่ หรือให้ก่อการกำเริบ ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินห้าปี
ถ้าความผิดนั้นได้กระทำลงโดยมุ่งหมายจะบ่อนให้วินัยและ สมรรถภาพของกรมกองทหารหรือตำรวจเสื่อมทรามลง ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี
Topมาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต
(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี
Topมาตรา 117 ผู้ใดยุยงหรือจัดให้เกิดการร่วมกันหยุดงาน การร่วม กันปิดงานงดจ้าง หรือการร่วมกันไม่ยอมค้าขายหรือติดต่อทางธุรกิจ กับบุคคลใด ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน เพื่อ บังคับรัฐบาลหรือเพื่อข่มขู่ประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดทราบความมุ่งหมายดังกล่าวและเข้ามีส่วนหรือเข้าช่วยในการ ร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิดงานงดจ้างหรือการร่วมกันไม่ยอมค้า ขายหรือติดต่อทางธุรกิจกับบุคคลใด ๆ นั้น ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดทราบความมุ่งหมายดังกล่าว และใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ ว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือทำให้หวาดกลัวด้วยประการใด ๆ เพื่อ ให้บุคคลเข้ามีส่วนหรือเข้าช่วยในการร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิด งานงดจ้างหรือการร่วมกันไม่ยอมค้าขายหรือติดต่อทางธุรกิจกับ บุคคลใด ๆ นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 118 ผู้ใดกระทำการใด ๆ ต่อธงหรือเครื่องหมายอื่นใดอัน มีความหมายถึงรัฐ เพื่อเหยียดหยามประเทศชาติ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 118 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519
_____________________________________________________________________________________________


 _______________________________________________________________________________

หนักอยู่เหมือนกันนะครับบ้านเมืองไทยภายใต้กฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์ ดีนะที่ผ่านมาที่เป็นข่าวดัง ทั้งฆ่าคนตาย ทุจริตต่อหน้าที่ ส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองที่มีอภิสิทธิ์อำนาจที่ตั้งกันขึ้นมาเองคุ้มกะลาหัว

แล้วกฎหมายที่เป็นข้อขัดแย้งว่าจะแก้หรือไม่แก้ดีนั้น มันคงจะมีอะไรที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนอยู่เป็นแน่แต่อย่ามาแห่ประกาศพาชาวบ้านออกไปลำบากกันเลยนะ เว้นแต่ว่าอธิบายความเป็นมาที่ชัดเจนแล้วว่าควรมิควรอย่างไร  ไม่ใช่มาปล่าวประกาศว่ามีใครกลุ่มใดไม่จงรักภักดี แต่ถ้ายังคาราคาซัง ก็ให้ประชาชนชาวบ้านตาดำเขาช่วยออกความคิดเห็นด้วยก็ได้  ดีกว่ามาชักชวนเขาออกไปปิดถนนปิดทำเนียบ (เพราะที่ผ่านมายังฆ่ากันเองไม่พออีกเหรอ ) ..ใครเห็นด้วยก็ใช้สิทธิ์กาช่องเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยก็กาช่องไม่เห็นด้วย ...แบบนี้คงไม่ขัดกับหลักและระบอบประชาธิปไตย
กลับไปที่หน้าสารบาญหมวด 3 ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักรTopมาตรา 119 ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่ง บังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง เมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายที่ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือ พนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้ เป็นที่สุด"
Topมาตรา 120 ผู้ใดคบคิดกับบุคคล ซึ่งกระทำการเพื่อ ประโยชน์ ของรัฐต่างประเทศ ด้วยความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดการดำเนินการรบต่อรัฐ หรือทางอื่นที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือ จำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
Topมาตรา 121 คนไทยคนใดกระทำการรบต่อประเทศ
Topมาตรา 122 ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่ออุปการะแก่การดำเนิน การรบหรือการตระเตรียมการรบของข้าศึก ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี
ถ้าการอุปการะนั้นเป็นการ
(1) ทำให้ป้อม ค่าย สนามบิน ยานรบ ยานพาหนะ ทางคมนาคม สิ่งที่ใช้ในการสื่อสาร ยุทธภัณฑ์ เสบียงอาหาร อู่เรืออาคาร หรือสิ่ง อื่นใดสำหรับใช้เพื่อการสงครามใช้การไม่ได้หรือตกไปอยู่ในเงื้อมมือ ของข้าศึก
(2) ยุยงทหารให้ละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่ ก่อการกำเริบ หนีราชการหรือละเมิดวินัย
(3) กระทำจารกรรม นำหรือแนะทางให้ข้าศึก หรือ
(4) กระทำโดยประการอื่นใดให้ข้าศึกได้เปรียบในการรบผู้กระทำ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
Topมาตรา 123 ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อความ เอกสารหรือสิ่งใด ๆ อันปกปิดไว้เป็นความลับสำหรับความปลอดภัย ของประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี
Topมาตรา 124 ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้ผู้อื่นล่วงรู้หรือได้ไป ซึ่งข้อความ เอกสารหรือสิ่งใด ๆ อันปกปิดไว้เป็นความลับสำหรับ ความปลอดภัยของประเทศต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี
ถ้าความผิดนั้นได้กระทำในระหว่างประเทศอยู่ในการรบหรือการ สงครามผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี
ถ้าความผิดดังกล่าวมาในสองวรรคก่อน ได้กระทำเพื่อให้รัฐต่าง ประเทศได้รับประโยชน์ ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือ จำคุกตลอดชีวิต
Topมาตรา 125 ผู้ใดปลอม ทำเทียมขึ้น กักไว้ ซ่อนเร้น ปิดบัง ยักย้าย ทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งเอกสารหรือแบบใด ๆ อันเกี่ยวกับส่วนได้เสียของรัฐในการ ระหว่างประเทศต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี
Topมาตรา 126 ผู้ใดได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้กระทำกิจการ ของรัฐกับรัฐบาลต่างประเทศ ถ้าและโดยทุจริตไม่ปฏิบัติการตาม ที่ได้รับมอบหมาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี
Topมาตรา 127 ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้เกิดเหตุร้ายแก่ประเทศ จากภายนอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี
ถ้าเหตุร้ายเกิดขึ้น ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือ จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี
Topมาตรา 128 ผู้ใดตระเตรียมการ หรือพยายามกระทำความผิด ใด ๆ ในหมวดนี้ ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
Topมาตรา 129 ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดใด ๆ ใน หมวดนี้ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น

ไม่มีความคิดเห็น: