วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยังจำกันได้ไหม คำว่าคนเสื้อแดงเราไม่ทอดทิ้งกัน


ผ่านวันเดือนปี ที่การต่อสู้ของคนเสื้อแดงยังดำเนินต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย เรียกร้องความเป็นธรรม  จนกระทั่งถึงวันนี้ ได้กำเนิด  กวป. กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขึ้นมาและลุกออกมารวมตัวขับไล่ ตลก. ที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญ เหตุและผลต่างๆ ชัดเจนคนเสื้อแดงทุกระดับรู้ดีว่าเพราะอะไร 13 มิ.ย.56 นี้ นัดชุมนุมใหญ่ที่หน้ารัฐสภา  เพื่อกดดันให้รัฐสภาไม่ต้องฟังคำตัดสินใดๆทั้งสิ้นจากศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมเรียกร้อง พรรคเพื่อไทย ให้ทำงานอย่างโปร่งใสและอย่าทำงานแบบรอส้มหล่น พร้อมยืนยันแก้ไข รัฐธรรมนูญ มาตราคุ้มครองโจร 309

กวป. กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ต่อสู้และมีจุดยืนข้างประชาชนอย่างชัดเจน และต้องการทำลายกลุ่มโจรและเหลือบประชาธิปไตยให้หมดไป เป็นกลุ่มประชาชนที่มีอุดมการณ์ประชาธิไตย  มิใช่นักการเมือง และกล้าต่อกร   ตลก.ศาลรัฐธรรมนุญ ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญที่สุดและเป็นหัวใจของโจร


หากย้อนไป วันวานที่เวที นปช. ก่อนจะถึงวันถูกสลาย 19 พ.ค.53  ตอนที่ม็อบสีเหลืองกำแหงอาละวาดหนัก หนักขนาดที่ที่ว่า บุกยึดทำเนียบไว้ ตั้ง สน. กันเองที่สะพานมัฆวานรังสรรค์. คนที่ใส่เสื้อแดง ที่ผ่านไปมาหรือรถเมล์ตามป้ายรอบบริเวณนั้น ได้รับสิทธิพิเศษโดนจับคุมตัวไปสอบสวน พร้อมทั้งยัดข้อหาให้แล้วสุดท้ายก็มีการทำร้ายร่างกาย ให้คนมารุมประนามด่า สารพัด นี่สิ่งเคยเกิดขึ้นในประเทศนี้

แกนนำ นปช.หลายคน พูดและย้ำเสมอว่าเพื่อบ้านเมืองเพื่อประชาธิปไตย ต่อต้านอำนาจทุกอำนาจที่มาจากเผด็จการ การรวมพลแรก มีคนไม่ถึง500 ที่สนามหลวง และสื่อไม่กี่สถานีของวิทยุชุมชน  ที่เปิดตัวเปิดหน้าท้าอำนาจนอกระบบ กว่าจะรวมคนชวนใครอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ จนมีคนออกมาใส่เสื้อแดงได้เป็นล้านๆ  ผ่านความเจ็บปวด เสียเลือดเนื้อ เสียชีวิต ในการชุมนุมมาและ ณรงค์ศักดิ์ กรอบไธสง วีระบุรุษประชาธิปไตย ศพแรกที่สังเวยการชุมนุมการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย
 ต่อจาก ลุงนวมทอง  ไพรวัลย์ ที่เสียชีวิตด้วยการแสดงเจตนาและอุดมการณ์ต่อต้านการทำรัฐประหาร

 
 .................................................................................................................................................................

ในคืนวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ได้ผูกคอตาย กับราวสะพานลอย บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต ฝั่งขาออก เยื้องกับที่ตั้งสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (บริษัท วัชรพล จำกัด) โดยในจดหมายลาตายระบุ เพื่อลบคำสบประมาทของ พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ รองโฆษก คปค. ที่ว่า '"ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้" '  อ่านเพิ่มเติม>>>สัมภาษณ์ 25 วันก่อน 'ลุงนวมทอง ไพรวัลย์
ดึกคืนวันที่ 1 ต่อเนื่องวันที่ 2 กันยายน2551 นชป.ที่จัดชุมนุมย่อยสนามหลวงได้เคลื่อนขบวนมุ่งหน้าไปทำเนียบรัฐบาลเพื่อ เรียกร้องให้พันธมิตรยุติการยึดทำเนียบรัฐบาลที่ยึดเอาไว้ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2551
เสื้อแดงยกพลจากสนามหลวงมาจะประท้วงให้พันธมิตรเลิกยึดทำเนียบฯ โดนกองกำลังพันธมิตรดักทำร้ายบาดเจ็บหลายราย ภาพล่างสุดคือณรงค์ศักดิ์ ที่ตายจากเหตุการณ์นี้   อ่านเพิ่มเติม>>>วีรชนประชาธิปไตย ณรงค์ศักดิ์ กรอบไธสง

...................................................................................................................................................
ผ่านเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี2552ก็ยังแสดงจุดยืนแน่นเหนียวและมวลชนคนเสื้อแดงผู้รักประชาธิปไตย และออกมารวมตัวมากขึ้น จนถึงปี 2553 ก็ถูกสลายการชุมนุมอย่างหนักจนมีคนเจ็บคนตายมากมาย แต่ก็ยังมีการออกมาชุมนุมอย่างต่อเนื่องซึ่งมีคำ ที่จะได้ยินบ่อยทุกครั้งที่มีการชุมนุม ว่า นเสื้อแดงเราจะไม่ทอดทิ้งกัน    ผ่านพ้นจนมีการเลือกตั้งผ่านไปจนพรรคเพื่อไทย ภายใต้การสนับสนุนของคนเสื้อแดง ชนะการเลือกตั้ง มีทั้งแกนนำ จากหลายกลุ่ม  เข้าไปเป็นส.ส. และมีตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองกันหลายคน  มาถึงวันนี้ กวป. กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขึ้นมาและลุกออกต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรม ขับไล่ตลก.ศาลรัฐธรรมนูญ ที่เป็นเชื่อชั่วจากการรัฐประหารของ คมช. และคอยทำลายฝ่ายประชาธิปไตย คนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอด 
 
แต่การออกมาต่อสู้ครั้งนี้ของ กวป. กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สิ่งที่เห็นคือ มีเพียงภาคประชาชน แกนนำที่เป็นนักจัดรายการวิทยุ เท่านั้น ที่ต่อสู้อย่างทรหด ทั้งเนื้อหาสาระที่ตรงประเด็นอย่างมีเหตุมีผล
 
แสดงจุดยืนสนับสนุนการกระทำของ ส.ส. และ ส.ว.จำนวน 312 คน ในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ซึ่งเห็นว่าเป็นการใช้อำนาจโดยชอบแล้ว จึงขอชื่นชม สนับสนุน และขอให้สมาชิกรัฐสภามีความมั่นคงในจุดยืน และขอวิงวอนสมาชิกรัฐสภาคนอื่นที่ยังไม่ได้ร่วมลงชื่อ ได้ลงชื่อสนับสนุนด้วย เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญสำเร็จไปได้ 
 
แสดงเจตจำนงผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ได้ไม่น้อยกว่า 20,000 รายชื่อ เพื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 5 คน ได้แก่ นายจรัญ ภักดีธนากุล นายสุพจน์ ไข่มุกด์ นายจรูญ อินทจาร นายนุรักษ์ มาประณีต นายเฉลิมพล เอกอุรุ  ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 271 ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และการขาดจริยธรรม ซึ่งขณะนี้มีผู้ร่วมเข้าชื่อแล้วกว่า 50,000 คน ซึ่งภาย15 วัน จะคัดกรองและนำมายื่นต่อประธานวุฒิสภาเพื่อเข้าขบวนการถอดถอนต่อไป ส่วนประเด็นการใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยการแทรกแซงอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติของสภา ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ของตุลาการทั้ง 5 คนนั้น ทางกลุ่มกวป. มีความเห็นว่า จะได้ยกระดับการเคลื่อนไหวชุมนุมเพื่อกดดันตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน เพื่อเป็นกดดันกันเองทางอ้อมให้มีการลาออกของ 5 ตุลาการ
 
สนับสนุนให้ยกเลิก มาตรา 309 ที่เป็นจุดสำคัญที่สุดที่ปกป้องฝ่ายอำมาตย์เอาไว้ และตอนนี้ได้มีการส่งสัญญาณจากเวที กวป. กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตยให้ยกเลิกมาตรานี้ >>> "มาตรา 37 บรรดาการกระทำทั้งหลาย
 

วันที่ 13 มิถุนายน2556 นี้ คงได้พิสูทธิ์อะไรบางอย่าง กับคำว่าเราจะไม่ทอดทิ้งกัน (หรือคำนี้มันเลือนลางไปเพราะสิ่งใด  หรือจะรอให้อีกฝ่ายมีการนำรถถังขนอาวุธออกมาก่อนแล้วค่อย พากันวิ่งเข้าหากองไฟอีก  ทั้งที่ตอนนี้เป็นเวลาที่ดีที่เหมาะ )

 
 Yanyong Lookshawdin
11 มิ.ย.56

ไม่มีความคิดเห็น: