วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

มาช่วยกวป.เรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 309 กันดีกว่าไหม

 
 

โดย พ่อจูม่ง จาก

 
"มาตรา 309 บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้"

รัฐ ธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (ฉบับถาวรที่ 18) พ.ศ.2550 มาตรา 309 อ้างถึงรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ฉบับที่ 17 (พ.ศ.2549) ซึ่งมีบทนิรโทษกรรมอยู่ในมาตรา 37

"มาตรา 37 บรรดาการกระทำทั้งหลาย ซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ของหัวหน้าและคณะ...(คปค.หรือ คมช.) ...ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดย สิ้นเชิง"

นี่คือการไฟเขียวไว้ก่อนว่าในอนาคตไปทำอะไรก็ไม่ผิด ถ้าพูดให้สุดขั้ว คือให้ไฟเขียวไว้ก่อนว่าคุณไปยิงใครตายก็ได้ ทำอะไรก็ไม่ผิดไง ทั้งก่อนและหลัง” ไม่รู้ว่าเขียนกฎหมายแบบ มาตรา 309 นี้ได้ไง ไม่ควรเป็นนักกฎหมายเลย


ได้ฟังหนุ่มโคราช พูดถึงมาตรา 309 บนเวทีกวป.แล้ว ทำให้รู้ว่ามันเป็นจุดสำคัญที่สุดที่ปกป้องฝ่ายอำมาตย์เอาไว้ และตอนนี้ได้มีการส่งสัญญานจากเวทีกวป.ให้ยกเลิกมาตรานี้ และจะเคลื่อนขบวนไปทวงถามพรรคเพื่อไทยและสภาต่อไป

จากเนื้อหาในมาตรา 309 จะเห็นว่ามันเป็นยันต์มหาอุด ครอบจักรวาล สำหรับฝ่ายต่อต้านประชาธิไตย
ถ้าพวกเราไม่ช่วยกันรณรงค์ ให้ยกเลิก ก็เท่ากับว่าส่งเสริมระบอบเผด็จการไปโดยปริยายนั่นเอง
ประเด็นการยกเลิกมาตรา 309 นี้ ถ้าพวกเราได้สังเกตดูการเคลื่อนไหวทั้งจากฝ่ายเพื่อไทย นปช. หรือฝ่ายเผด็จการ
ไม่ค่อยจะมีใครอยากเอามาขยายผลมากนัก ทั้งที่เป็นมาตราสูงสุดที่รับประกันว่าฝ่ายเผด็จการทำอะไรก็ไม่ผิด
ถ้าจะวิเคราะก็อาจมองได้ว่ามีการซูเอี๋ย ไม่ให้เพื่อไทยแตะต้อง แลกกับการไม่ถูกเตะตัดขาเขี่ยทิ้ง
แม้แต่นปช.ยุคป้าย่น โดย อ.ธิดา ยังถึงกับเป็นใบ้ หันเหไปเน้นจัด เต้น โคโยตี้ แทน บนเวทีนปช.
ยิ่งนานไป คนดูชักจะเบื่อ เริ่มจับทางได้ มันก็เลยคล้ายกับดูลิเก คณะ ป้าย่น นปช. ไปซะงั้น
อยากจะเรียกเพื่อไทยและนปช. ในขณะนี้ ว่าเป็น "พวกหลงผิด" คิดว่าส้มจะหล่นจากฟ้า ก็น่าจะได้
2 ปีที่ผ่านมา "พวกหลงผิด" จึงตั้งหน้ารอคอย และคลานหาส้มหล่น จนหัวเข่าด้านไปตามๆกัน
ลิเกเรื่อง ICC ที่จัดฉากซะจนซับซ้อน จบแบบคนดูนั่งตาเหลือก เสียค่าตั๋วดูแบบโง่ๆมาถึง 3 ปี
จนมีดในมือของ พระเอกอย่าง โรเบิร์ต อัมเตอร์ดัม เป็นสนิมจนเกือบหมดด้าม ก็ยังไม่ได้ฟันสักฉับ
มาตรา 309 นี่ก็เป็นอีกสาเหตุที่พวกเราควรจะต้องจับตามองด้วยอีกครั้งว่า เพื่อไทยจะเอายังไงกันแน่
มันจะทำให้พวกแดงนักรบไซเบอร์อย่างพวกเรากลายเป็นไอ้งั่งไปอีกครั้ง ที่ถูกพวกเดียวกันหลอก 555
อยากจะรอเพื่อไทยหรือ ป้าย่น นปช. ออกมารำแหกตาก่อน หรือจะร่วมกับกวป. ก็ตัดสินใจให้ดีๆ
เพราะตอนนี้กวป. กลุ่มวิทยุชุมชน ได้วิเคราะห์และตาสว่างขึ้นมาอีกระดับแล้วว่า
"มาตรา309 นี่แหละที่เป็นลิ้นหัวใจของพวกเผด็จการเลย และต้องถูกกำจัดทิ้งเสียโดยไว "
เหล่าเสื้อแดง ที่อ้างว่าเป็นนักรบเลือดเข้มทั้งในโลกจริง โลกออนไลน์ และสารพัดโรค
พวกท่านจงวิเคาะห์และตัดสินใจครับว่า จะสู้จริงหรือแค่ดราม่าสร้างภาพไปเรื่อยๆ ให้เผด็จการมันนั่งหำ เอิ๊กๆ
 
อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลยุติธรรม ยืนยันว่ามาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มีขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้ทำการรัฐประหาร

การพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลในปัจจุบัน ทำให้เกิดข้อถกเถียงขึ้นในสังคมมากมาย โดยเฉพาะข้อถกเถียงเกี่ยวกับผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการแก้ไขมาตรานี้ ซึ่งในประเด็นนี้อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลยุติธรรมได้ให้สัมภาษณ์กับวอยซ์ ทีวี โดยยืนยันว่ามาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มีขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้ทำการรัฐประหาร ซึ่ง การยกเลิกมาตรานี้ อาจทำให้เกิดการรื้อฟื้นการกระทำโดยมิชอบที่ผ่านมา

มาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ระบุว่า บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและ การกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้

นายนคร พจนวรพงษ์ อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลยุติธรรม ระบุว่าการมีอยู่ของมาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ถือเป็นครั้งแรกที่มีการบัญญัติกฎหมายนิรโทษกรรม ลงในรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวร

ทั้งนี้ นายนคร พจนวรพงษ์ ยังได้วิเคราะห์ว่า ผู้ที่จะเสียประโยชน์จากการยกเลิกมาตรา 309 คือ ผู้ที่ออกกฎหมายดังกล่าว

นอกจากนั้น อดีตผู้พิพากษาอาวุโส ศาลยุติธรรม ยังมองว่า ผู้ที่ออกมาต่อต้านการแก้ไขมาตรา 309 คือผู้ที่ทราบดีถึงความไม่ชอบมาพากลในการดำเนินคดีต่ออดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร จึงไม่ต้องการให้มีการแก้กฎหมายดังกล่าว
http://news.voicetv.co.th/thailand/58968.html
ยกเลิก ม.309 ใครได้ใครเสีย

 เปิดบันทึก... เจตนารมณ์ มาตรา 309

โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551 07:48 น.
คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) มีมติเตรียมแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 โดยเฉพาะประเด็นมาตรา 237 วรรคสอง เรื่องการยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรค และยังมีมติพ่วงการตัดมาตรา 309 ที่ว่ากันว่าเป็นการนิรโทษกรรมให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และยกเลิกการปฏิบัติงานขององค์กรต่างๆ ที่ตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหาร ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมอย่างกว้างขวาง
เมื่อพิจารณาเฉพาะมาตรา 309 ซึ่งบัญญัติว่า บรรดาการใดๆ ที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้

มาตราดัง กล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในช่วงที่มีการร่างรัฐธรรมนูญ ว่า เป็นการทำลายหลักการสูงสุดของรัฐธรรมนูญลง เพราะการกระทำอันใดก็ตามที่เกิดขึ้นก่อนมีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่เมื่อมีการประกาศรัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกมา ผลคือว่า การกระทำอันนั้น แม้จะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่ ก็ไม่มีองค์กรใดสามารถไปตรวจสอบการกระทำดังกล่าวนั้นได้

สำหรับการพิจารณาของ ส.ส.ร.ในมาตรานี้ มี ส.ส.ร.บางคนแปรญัตติว่า ไม่ควรจะมีมาตรานี้ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 มาตรา 36 ได้บัญญัติไว้แล้วว่า บรรดาประกาศและคำสั่งของ คปค.ที่ได้ประกาศ หรือสั่งไว้ ในระหว่างวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด และไม่ว่าจะประกาศ หรือสั่ง ให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป และให้ถือว่าประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้น จะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นประกาศหรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติ ที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ดี ในชั้นการแปรญัตติ กรรมาธิการชี้แจงว่า ต้องมีเพื่อรับรองการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 ทำให้ไม่มีสมาชิกผู้แปรญัตติคนใดติดใจ และการประชุม ส.ส.ร.เพื่อพิจารณามาตราดังกล่าวในวันที่ 28 มิถุนายน 2550 ก็ผ่านโดยไม่มีการอภิปราย

นอกจากนี้ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เดินสายชี้แจงตามเวทีสาธารณะว่า เจตนารมณ์ของมาตรานี้ พูดถึงสิ่งที่ถูกต้องในปี 2549 ให้ถือว่าถูกต้องต่อไป ไม่ได้บอกว่าสิ่งที่ผิดให้ผิดต่อไป หรือไม่ได้บอกว่าสิ่งที่ผิดขอให้ถูก ถามว่าเขียนแบบนี้ผิดตรงไหน มีบทบัญญัติตรงไหนบ้างที่นิรโทษกรรม คมช. การนิรโทษกรรมได้หมดสิ้นไปแล้วตามรัฐธรรมนูญปี 49 เพราะรัฐธรรมนูญ 49 ได้นิรโทษกรรม คมช.ไปแล้ว ในทางกฎหมายจึงไม่ต้องนิรโทษกรรม คมช.อีกต่อไป ยืนยันว่า มาตรา 309 มุ่งอุดช่องว่างของกฎหมายในปัญหากฎหมายที่อาจจะเกิดขึ้นเท่านั้น ไม่ได้ผิดหลักการการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน อย่างที่หลายคนได้พูดแต่ประการใด


มาตรา 309 เหมือนตราสังข์...จึงจำเป็นต้องแก้

นิติรัฐกับรัฐธรรมนูญ 2550

รัฐธรรมนูญ 2550 ได้มีบทบัญญัติที่เรียกได้ว่าเป็นบทบัญญัติที่ทำลายหลักนิติรัฐลงคือมาตรา 309 ซึ่งบัญญัติว่า “บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้”
การ ที่จะทราบว่ามาตรา 309 ได้รับรองสิ่งใดบ้างจึงต้องย้อนกลับไปดูในรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 ว่าได้รับรองสิ่งใดไว้บ้าง ซึ่งปรากฏใน

มาตรา 36 บัญญัติว่า “บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปใดและไม่ว่าจะประกาศหรือสั่งให้มีผลบังคับในทาง นิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปและให้ถือว่าประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้นไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศหรือคำ สั่งนั้นจะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นประกาศหรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ”

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่ามาตรา 309 ได้รับรองให้ 1.) ประกาศ คปค. 2.) คำสั่ง คปค. 3.) การปฏิบัติตามประกาศ หรือตามคำสั่ง คปค. ไม่ว่าก่อนหรือหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 2550

ผล ที่ตามก็คือ ประกาศ คปค. , คำสั่ง คปค. และการกระทำตามประกาศหรือคำสั่งเหล่านั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปทั้งหมด ซึ่งในเมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ศาลทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง หรือศาลยุติธรรม จึงไม่อาจตรวจสอบ ประกาศ คปค. , คำสั่ง คปค. หรือการกระทำตามคำสั่งหรือประกาศนั้นได้ แม้โดยเนื้อหาของประกาศหรือคำสั่งเหล่านั้นจะไม่ชอบ หรือการกระทำตามประกาศหรือคำสั่งจะไม่ชอบ แต่มาตรา 309 ได้รับรองไว้ก่อนแล้วว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ สิ่งที่ตามก็คือ แม้จะมีการฟ้องคดีไปที่ศาลว่ามีการกระทำตามประกาศ คปค. ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิตามที่รัฐธรรมนูญรับรองซึ่งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่ศาลก็ไม่อาจจะตรวจสอบได้เลย นอกจากวินิจฉัยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าไม่อาจรับคดีนี้ไว้ตรวจสอบ หรือวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะมีการรับรองเอาไว้แล้วว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ดังนั้น มาตรา 309 จึงเป็นบทบัญญัติที่มีผลเป็นการตัดอำนาจการตรวจสอบขององค์กรตุลาการ ( judicial review ) อันเป็นหลักการพื้นฐานของนิติรัฐ อันจะตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจอธิปไตยให้เกิดดุลยภาพ นอกจากนี้ ยังเป็นบทบัญญัติที่ปฏิเสธที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลจากการใช้อำนาจ อันมิชอบธรรมอีกด้วย ผู้เขียนจึงเห็นว่า แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะมีจุดขายว่ามีการคุ้มครอง ส่งเสริมและการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ แต่หากสิทธิเสรีภาพของบุคคลถูกละเมิดจากการกระทำตามประกาศ หรือคำสั่งของ คปค. กลับไม่สามารถที่จะใช้สิทธิทางศาล หรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ทางศาลได้เลย เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 309 ได้รับรองไว้แล้วว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฉะนั้น แม้ว่ารัฐธรรมนูญ 2550 จะบัญญัติว่าสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมีอยู่อย่างมากมายเพียงไร ก็คงเป็นเพียงตัวหนังสือที่อยู่ในกระดาษเท่านั้น หาได้มีความหมายอย่างใดไม่ เพียงเท่านี้ก็เพียงพอแล้วที่ผู้เขียนจะสรุปว่ารัฐธรรมนูญ2550 ไม่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐแม้แต่น้อย
ตัวอย่าง กรณีที่ศาลได้นำบทบัญญัติในมาตรา 309 มาเป็นข้อสนับสนุนในการวินิจฉัยคือ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2551 กรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ส่งคำโต้แย้งของจำเลย (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ 1 กับพวกรวม 47 คน) ที่โต้แย้งกรณีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสีย หายแก่รัฐ(ค.ต.ส.) ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข ฉบับที่ 30 ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 และกรณีการขยายระยะเวลาดำเนินการของคณะกรรมการตรวจสอบออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 พ.ศ.2550 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัย โดยมีเหตุผลสนับสนุนตอนหนึ่งว่า “.................... นอกจากนี้มีมาตรา 309 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ยังได้บัญญัติ รับรองไว้ในบทเฉพาะกาลอีกชั้นหนึ่งด้วยว่า “บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้” เมื่อประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 36 ว่าชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้วการตราพระราชบัญญัติที่เป็นปัญหา ในคดีนี้จึงเป็นเพียงการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว แม้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครอง ฯ ฉบับนี้ได้ประกาศใช้บังคับภายหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ต้องได้รับการรับรองตามบทเฉพาะกาลมาตรา 309 ของรัฐธรรมนูญนี้ว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเช่นกัน……..”

“ดัง นั้น จึงวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 พ.ศ. 2550 ที่ขยายระยะเวลาดำเนินการของ คตส. ออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2551 มิได้มีบทบัญญัติใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตราใดเลย”

การที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้นำมาตรา 309 มาเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 2550 ย่อมเป็นสิ่งที่ยืนยันแล้วว่ามาตรา 309 นั้นมีอิทธิฤทธิ์มากมายเพียงใด และยังเป็นเครื่องยืนยันอีกประการหนึ่งว่าหลักนิติรัฐนั้นยังคงมีอยู่หรือ ไม่ เพราะเพียงแค่อ้างถึงมาตรา 309 เท่านั้น ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเหตุผลใดๆ อีกเลย หากจะกล่าวให้ถึงที่สุดและเข้าใจง่ายๆ ก็คือ “ในเมื่อมาตรา 309 บอกว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็ต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยไม่ต้องถามหาเหตุผลใดๆ อีกนั่นเอง”

นอกจากนี้ยังมีผู้กังวลว่าการ ยกเลิกมาตรา 309 จะเป็นผลให้คดีของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ต้องหลุดพ้นไปหมด ย่อมเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง เพราะการยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรานี้ จะทำให้ประกาศ คปค. ,คำสั่ง คปค. และการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งเหล่านั้นของเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกตรวจสอบ ถึงความชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยองค์กรตุลาการได้เท่านั้น ศาลจะวินิจฉัยให้การเหล่านี้ชอบหรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่เป็นอีก เรื่องหนึ่ง เพราะสิ่งที่ควรจะคำนึงถึงเป็นประการแรกภายใต้หลักนิติรัฐ คือ การที่จะต้องทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถที่จะถูกตรวจสอบได้อย่างเท่าเทียม กัน โดยไม่มีกฎหมายใดหรือการกระทำใดมีเอกสิทธิ์ที่ไร้เหตุผลมาเป็นเกราะป้องกัน เพื่อให้หลุดพ้นจากการตรวจสอบไปได้อย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้

สรุป ผู้เขียนจึงเห็นว่าไม่ว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญกี่มาตราก็ตาม หากมาตรา 309 ยังคงปรากฏอยู่ในกฎหมายสูงสุดของประเทศต่อไป ประเทศไทยก็ยังคงอยู่บนเส้นทางที่เป็นคู่ขนานกับหลักนิติรัฐ โดยไม่มีวันที่จะอยู่บนเส้นทางเดียวกันได้เลย และก็คงจะเป็นถ้อยคำที่สร้างให้ผู้พูดดูดีเพื่อสร้างความ ชอบธรรมให้แก่ตนเองในการทำลายอีกฝ่ายหนึ่งต่อไป

02 /07/ 2552

โดย..คุณชนินทร์ ติชาวัน นบ.,นบ.ท.,น.ม.มหาวิทยาลัยรามคำแหง
โดย จงเจริญ
...................................................................
 
แก้รธนรายมาตราเพื่อไทยควรชัดเจน เลิก ม.309 หรือไม่ ?

กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญบนเส้นทาง 3 แพร่ง เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ล่าสุดผ่านการออกมาแสดงทัศนะของแกนนำพรรคเพื่อ ไทยอย่างร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ว่าควรแก้ไขเป็นรายมาตรา แม้จะยังไม่ใช่ข้อเสนอที่สะเด็ดน้ำ แต่ก็ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ยังคงเปิดกว้างเสมอ เพราะจะว่าไปแล้ว เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรานั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือนปช.ก็เคยปักธงการ แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรามาแล้วถึง 30 หัวข้อด้วยกัน
การแถลงข่าวของนปช.เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554 ในระยะแรกของกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานนปช.ได้ประกาศเป้าหมายการแก้ไขรัฐธรรมนูญของนปช. เอาไว้ที่ 10 หัวข้อดังนี้
1.ยกเลิกมาตรา 309 ของรัฐธรรมนูญ 2550
2.ยกเลิกมาตรา 36 และ 37 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549
3.ยกเลิกส.ว.แต่งตั้ง
4.แก้มาตรา 265 และ 266 ของรัฐธรรมนูญ 2550
5.แก้มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ 2550 เรื่องการทำสนธิสัญญา
6.แก้มาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญ 2550 เรื่องการยุบพรรค

7.เพิ่มเติมเรื่องอำนาจตุลาการต้องเกี่ยวโยงกับอำนาจอธิปไตยของประชาชน
8.การแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้โดยตรงโดยประชาชน
9.ถอดถอน ส.ส., นักการเมือง องค์กรอิสระทำได้โดยตรงโดยประชาชน
10.เสนอกฎหมายได้โดยตรงโดยประชาชน

โดยเฉพาะการพุ่งเป้ายกเลิก มาตรา 309 ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่กำหนดไว้ว่าบรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้
เพิ่มน้ำหนักให้มีความชัดเจนมากขึ้น ในประเด็นที่ 2 ว่าด้วยการเสนอยกเลิกมาตรา 36 และ 37 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวเนื่องกับการรับรองความถูกต้องคณะปฏิรูปฯ ดังนี้
มาตรา 36 บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
ไม่ว่าจะเป็นในรูปใดและไม่ว่าจะประกาศหรือ สั่งให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปและให้ถือว่าประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้นไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้นจะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นประกาศ หรือคำสั่งหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ขณะที่มาตรา 37 ซึ่งมีรายละเอียดว่า บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจ การปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ของหัวหน้าและคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว หรือ ของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่ง จากผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า หรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันได้กระทำไป เพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น
การกระทำดังกล่าว ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการรวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่าง อื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อน หรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดย สิ้นเชิง
 
 

ไม่มีความคิดเห็น: