วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

"ปรากฏการณ์อากง”“วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล” ตั้งคำถามเรื่อง “112


วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ได้ตั้งคำถามกับสังคมไทยรวมไปถึงเรียกร้องให้หันมาทบทวนกับประเด็นของกฏหมาย 112 กับสิทธิมนุษยชนกันอย่างจริงจัง

โดยมีคดี “อากง” เป็นกรณีศึกษาวิงวอนให้ทุกฝ่ายหันมาดูข้อมูล และ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ได้โพสต์ไว้ในหน้าเฟชบุ้คของตนดังนี้ 

Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล)

ในฐานะประชาชนคนไทยที่มีความเคารพต่อสถาบันกษัตริย์และในฐานะสื่อมวลชนคนหนึ่ง อยากวิงวอนให้ทุกคนหันมาดูข้อมูลเกี่ยวกับคดีนี้อย่างจริงจังครับ นี่เป็นคดีสำคัญมากๆที่จะกำหนดทิศทางในเรื่องของสิทธิมนุษยชนในประเทศเราต่อไป โดยส่วนตัวอยากให้พิจารณาในประเด็นต่อไปนี้


1.  112  มีไว้เพื่อรักษาสถาบันกษัตริย์จริงหรือไม่ หากเรามองแบบแบ่งแยกเนื้อหาของมาตรา กับการบังคับใช้จริงที่ผ่านมา



2.  ความไม่โปร่งใสของกระบวนการอยู่ที่จุดไหน? ที่ศาล? หรือว่าเนื้อหาของตัวกฏหมายตั้งแต่แรก แล้วต้องแก้ไขอย่างไรและหากใครก็สามารถฟ้องหมิ่นได้ อะไรจะสามารถหยุดการใช้มาตรานี้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ (ในกรณีนี้เป็น สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา แต่กรณีอื่นๆนั้นไม่ใช่หน่วยงานก็ทำได้ และทำมาแล้ว)

แบ่งแยกให้ชัดเจน หมิ่น กับ วิพากษ์บทบาทสถาบันกษัตริย์ในเชิงวิชาการ
SMS 4 ข้อความติดคุก 20 ปี ยุติธรรมไหมห้ามไม่ให้คิด ได้ผลจริงหรือ

3. ส่ง SMS 4 ข้อความ ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม โดน20ปีนั้น ยุติธรรมไหม แล้วในกระบวนการตัดสินที่ดูแค่เลข EMEI นั้นหากผมเอาโทรศัพท์คนที่ผมไม่ชอบมาส่งข้อความในเชิงหมิ่นออกไป ก็สามารถกลั่นแกล้งกันได้โดยง่ายดาย



4. มาตรากฏหมายเพื่อปกป้องการล่วงละเมิดสถาบันกษัตริย์นั้นต้องมีอยู่ แต่จะทำอย่างไร ที่จะแปรรูปกระบวนการให้ชัดเจนกว่านี้ และมีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างการ “หมิ่น” และการ “วิพากษ์บทบาทของสถาบันที่มีต่อสังคมในเชิงวิชาการ”



5. หากลองมองถึงกลุ่มคนที่มีความคิดที่แตกต่างออกไปต่อสถาบันกษัตริย์จริงๆ
และลองพิจารณาประวัติศาสตร์ถึงกลุ่มต่างๆในทุกประเทศที่มีความคิดขัดแย้งกับบรรทัดฐานที่เป็นที่ยอมรับของสังคม และสำรวจดูว่า การ”ห้าม”ไม่ให้คิดให้พูดในแบบที่เค้าคิดนั้น ได้ผลจริงหรือไม่ สุดท้ายแล้วกฎหมายและ “การลงโทษ” เป็นเครื่องมือที่ได้ผลที่สุดจริงๆหรือเปล่าสำหรับการปกป้องสถาบันกษัตริย์ หรือว่ามันจะยิ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ทำให้กลุ่มที่ต่อต้าน ขยายตัวออกมากขึ้นเรื่อยๆ



6. “เสรีภาพส่วนตัวนั้นย่อมทำได้ ตราบใดที่ไม่สร้างความเดือดร้อนต่อผู้อื่น” เราได้ยินคำนี้กันมาบ่อยมาก แต่อาจจะต้องมาทบทวนกันอย่างจริงจังอีกครั้งว่า “การสร้างความเดือดร้อน” นั้นคืออะไร การออกความเห็นที่ทำให้คุณไม่พอใจนั้น ถือว่าเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้คุณหรือไม่



7. “แตกต่างไม่แตกแยก” เราพูดกันทุกวัน อาจจะถึงเวลาที่เราต้องทำกันจริงๆแล้ว แม้ว่าการปรับทัศนะคติส่วนตัว ระบบความเชื่อทุกอย่างที่มีมา มันจะยากแค่ไหนก็ตาม และหากต่างฝ่ายต่างรอให้อีกฝ่ายเริ่มก่อน สุดท้ายก็ไม่มีทางที่สันติจริงๆจะเกิดขึ้นได้สักที

 



''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''


นายวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล เป็นบุตรชายคนเล็กของ ครอบครัวอดีตแกนนำนักศึกษาเรียกร้องประชาธิปไตย 14ตุลาคม ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล กับ นักเขียนรางวัลซีไรต์ คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา มีพี่ชาย 1 คนชื่อ แทนไท ประเสริฐกุล


'''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''


อ่านรายละเอียดคดีได้ที่ http://prachatai.com/journal/2011/11/37991




ขอขอบคุณข้อมูลข่าวสารจาก   คุณ TFN   จากเว็บไทยฟรีนิวส์   http://www.tfn5.info/board/index.php?topic=37907.0

ไม่มีความคิดเห็น: